การเรียนรู้และสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

ข้อเท็จจริง บอกกับเราว่า โลกมีการเปลี่ยนแปลง …สังคมดิจิทัล มาเร็วไปเร็ว เต็มไปด้วยข้อมูลมหาศาล เด็กใช้มือถือ 8 ชั่วโมงต่อวัน และ 80% ของการเรียนรู้เกิดขึ้นนอกห้องเรียน ขณะที่อีก 20% คือการเรียนรู้ภายในห้องเรียน จะเห็นว่าการศึกษาในห้องเรียนมีตัวชี้วัดทางการศึกษาที่ใช้ผลคะแนนการสอบเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันทางภาครัฐเองก็มีทุนสนับสนุนทางการศึกษาเป็นจำนวนมากแต่กลับไม่สามารถกระจายให้เกิดการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงได้
ภายใต้สถานการณ์และบริบททางสังคมเช่นนี้เอง ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า ต้นทุนพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของครอบครัวมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่อย่างไร และภายใต้ต้นทุนเหล่านี้ (Personalized Learning Pathway) เราสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาและสร้างเสริมทักษะให้แก่เด็ก เยาวชนและคนรุ่นใหม่ได้หรือไม่อย่างไร
นพ.ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์ เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ ได้อธิบายให้เราเห็นว่า “Personalized Learning Pathway เป็นเรื่องสำคัญหากเปรียบเทียบก็คล้ายกับทะเบียนคนไข้ที่แพทย์จะใช้ในการติดตามอาการหรือติดตามความเปลี่ยนแปลงผ่านประวัติการรักษา ผ่านอาการเจ็บป่วยต่างๆ สิ่งเหล่านี้เรียกว่าสถานะการติดตาม (Trace) ที่เราสามารถนำมาใช้วิเคราะห์ประมวลผลเพื่อการพัฒนาได้”
โดยมีพื้นที่กลาง (Data Lake หรือ Data Pool) ที่มีข้อมูลที่สะท้อนถึงกระบวนการเรียนรู้ทุกรูปแบบทั้งภายในและภายนอกระบบ ข้อเท็จจริงคือคนหนึ่งคนใช้เวลา 20% กับ Formal Learning และอีก 80% กับ Informal Learning ดังนั้นต้นทุนทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น หนังสือ ห้องเรียน กิจกรรมต่างๆ และระบบบริหารจัดการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) ที่ชี้ให้เห็นถึง input – output ในการพัฒนาคนที่จะนำไปสู่ Individual Support Plan
ภายใต้สถานการณ์และกรอบคิดดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นที่มาที่บริษัทคิดเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมูลนิธิสดศรี – สฤษดิ์วงศ์ จะดำเนินการให้เกิดความร่วมมือจากบุคลากรสหศาสตร์ที่จะมาร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ Big Data ในทางการศึกษาที่จะนำไปสู่ชุดองค์ความรู้ (ชุดงานวิจัย) เพื่อขับเคลื่อนดำเนินการให้เกิดนิเวศแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในสังคมไทย
ปฎิรูปการเรียนรู้ เพื่อคนทั้งมวล

ติดต่อเรา
เลขที่ 35/6 หมู่บ้านปริญญาดาสามัคคี ซอยสามัคคี 58/10 ถนนสามัคคี ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
relearning@mailexample.com relearning_01@mailexample.com
+6695 804 6111
ติดตามข่าวสาร
สมัครรับข่าวสารของเรา เพื่อที่จะไม่พลาดข่าวสารต่างๆ